เชื่อว่าหลายๆ คนแค่ได้ยินคำว่า “ไขมัน” ก็อยากจะหลีกเลี่ยงไปให้ไกลๆ แต่จริงๆ แล้วไขมันมีอะไรมากกว่าแค่ทำให้ “อ้วน” เพราะจริงๆ แล้วไขมันมีหน้าที่ต่างๆ มากมายที่ช่วยในกลไกการทำงานของร่างกาย แน่นอนว่ามีทั้งประโยชน์ และโทษ วันนี้ Body Project จะมาทำความเข้าใจ “ไขมัน” กันใหม่
คอเลสเตอรอล (Cholesterol) คืออะไร?
คอเลสเตอรอล คือ อนุภาคไขมันซึ่งผลิตขึ้นที่ตับ และนำส่งไปที่เซลล์ต่างๆ เป็นสารตั้งต้นในการสร้างฮอร์โมนเพศ และสร้างสารสเตอรอลที่อยู่ใต้ชั้นผิวหนังเพื่อเปลี่ยนเป็นวิตามินดีเมื่อผิวสัมผัสกับแสงแดด และยังทำหน้าที่เป็นส่วนประกอบหนึ่งของผนังเซลล์
ใน 1 วัน ควรได้รับคอเลสเตอรอลเท่าไหร่?
ในหนึ่งวันควรได้รับคอเลสเตอรอลไม่เกิน 200-300 มิลลิกรัม เพราะถึงแม้ว่าคอเลสเตอรอลจะมีประโยชน์ต่อการทำงานของกลไกในร่างกายบางส่วน แต่การได้รับคอเลสเตอรอลในปริมาณที่มากเกินไปจะส่งผลเสียต่อร่างกาย และควรระมัดระวังอย่างมาก ซึ่งการที่ร่างกายจะได้รับคอเลสเตอรอลเข้าไปนั้นก็มาจากการรับประทานอาหารต่างๆ ดังนั้นคุณจึงจำเป็นต้องรู้ว่าอาหารอะไรให้ไขมันชนิดไหนกันบ้าง โดยคอเลสเตอรอลที่ควรรู้จักแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1. ชนิดไขมันดี (High Density Lipoprotien) หรือ HDL
2. ชนิดไขมันเลว (Low Density Lipoprotein) หรือ LDL
ไขมันดี (High Density Lipoprotien) หรือ HDL
เป็นไขมันที่เปรียบเสมือนพาหนะบรรทุกไลโปโปรตีน (Lipoprotein) ที่มีความหนาแน่นสูง โดยจะขนส่งไขมันในเลือดทั่วร่างกายไปทำลายที่ตับ ไขมัน HDL จึงเป็นไขมันชนิดที่ดีต่อร่างกาย เมื่อร่างกายมีปริมาณไขมัน HDL สูงก็จะเป็นผลดีต่อสุขภาพ ซึ่งโดยปกติแล้วระดับไขมัน HDL ในผู้ชายจะมากกว่า 60 มิลลิกรัม/เดซิลิตร (หากน้อยกว่า 40 มิลลิกรัม/เดซิลิตรถือว่าอยู่ในภาวะเสี่ยง) และผู้หญิงควรมีมากกว่า 60 มิลลิกรัม/เดซิลิตร (หากน้อยกว่า 50 มิลลิกรัม/เดซิลิตรถือว่าอยู่ในภาวะเสี่ยง)
อาหารแหล่งไขมันดี (HDL)
ไขมันเลว (Low Density Lipoprotein) หรือ LDL
เป็นไขมันที่ติดกับหลอดเลือด ส่งผลให้เกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจอุดตัน หลอดเลือดหัวใจแข็งได้ และถ้าไปสะสมที่สมองอาจทำให้เกิดโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต ถ้าไปสะสมที่หลอดเลือดฝอยจะก่อให้เกิดโรคต่างๆ ได้มากมาย ถ้าไปสะสมที่ผนังหลอดเลือดบริเวณอุ้งเชิงกรานจะทำให้เกิดภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศได้
อาหารแหล่งไขมันเลว (LDL)
จริงๆ แล้วไม่ใช่ทุกอย่างจะเป็นตัวร้ายเสมอไป ไขมันมีประโยชน์ในการช่วยดูดซึมวิตามิน และแร่ธาตุ และช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกาย แต่ไขมันชนิดเลว (LDL) ในปริมาณที่มากเกินไปก็เป็นสาเหตุของคอเลสเตอรอลสูง ซึ่งเป็นที่มาของโรคเรื้อรังอันตราย เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด คุณควรกินอาหารที่มีไขมันในปริมาณที่เหมาะสม โดยเลือกกินอาหารที่ให้ไขมันชนิดดี (HDL) เช่น อะโวคาโด น้ำมันมะกอก เพื่อเพิ่มปริมาณไขมันดีในร่างกาย และหลีกเลี่ยงอาหารที่ให้ไขมันชนิดเลว เช่น ของทอดต่างๆ เพื่อลดโอกาสการเกินภาวะคอเลสเตอรอลสูง