Body Project Official

ติดต่อสอบถาม 0842622362 | ไลน์ @BODYPROJECT

ติดต่อสอบถาม

How to สร้างกล้าม

ท่าเล่นเวทสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ Compound กับ Isolation หรือบางคนจะเรียกว่า Multi-Joint (เคลื่อนไหวหลายข้อต่อ) กับ Single-Joint (เคลื่อนไหวข้อต่อเดียว)

Compound Movement เป็นท่าที่ใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ในร่างกาย เพราะกล้ามเนื้อมัดใหญ่เหล่านี้จะต้องใช้พลังงานสูงมาก และเบิร์นแคลอรี่ได้เยอะ นอกจากท่าประเภทนี้จะช่วยให้ลดน้ำหนักเร็วแล้วยังเป็นท่าพื้นฐานที่ช่วยเพิ่มขนาดกล้ามเนื้อ และสร้างความแข็งแรงกล้ามเนื้ออีกด้วย

Isolation Movement เป็นท่าที่มีกล้ามเนื้อทำงานหลักๆ แค่มัดเดียว โดยใช้น้ำหนักที่ยกได้หลายๆ ครั้ง เพื่อให้กล้ามเนื้อถูกใช้งานจนเครียด ซึ่งสามารถทำให้กล้ามเนื้อมีขนาดเพิ่มขึ้นได้ ซึ่งท่าพวกนี้มักจะยกได้เบากว่าท่า Compound เพราะกล้ามเนื้อที่ร่วมทำงานประกอบการเคลื่อนไหวน้อยกว่า

ประเด็นในวันนี้มาจากงานทดลองนึงที่เขาทำการเปรียบเทียบว่า Compound กับ Isolation อันไหนจะเพิ่มขนาด และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อได้ดีกว่ากัน เมื่อให้ “น้ำหนักที่ยก” “จำนวนครั้งที่ยก” และ “จำนวนเซท” เท่ากัน พูดง่ายๆ คือหยิบ DB มาลูกนึงแล้วให้กลุ่มนึงเล่น DB Fly 12 ครั้ง 3 เซท แล้วอีกกลุ่มนึงก็เอา DB ลูกนั้นมาเล่น DB Bench Press 12 ครั้ง 3 เซท เหมือนกัน พบว่าสามารถพัฒนาขนาดของกล้ามเนื้อได้เหมือนๆ กัน แต่การเล่นแบบ Compound นั้นจะมีข้อดีตรงที่เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อได้มากกว่า

แต่อย่าพึ่งด่วนสรุปว่าถ้าเป้าหมายคือ การเพิ่มขนาดของกล้ามเนื้อก็จะเล่นแต่ Isolation ก็ได้ (เพราะการทดลองพบว่าเพิ่มขนาดได้ไม่ต่างกัน) เพราะอย่าลืมว่าการทดลองนี้กำหนดให้ “นน ที่ยก” “จำนวนครั้งที่ยก” และ “จำนวนเซท” เท่ากัน ซึ่งในความเป็นจริงแล้วท่าพวก Compound จะใส่น้ำหนักได้เยอะกว่า และตัวน้ำหนักที่มากกว่านี่เองที่ทำให้กล้ามเนื้อต้องทำงานหนักมากขึ้น และจะเป็นปัจจัยนึงที่จะทำให้พัฒนาได้เช่นกัน

การออกแบบโปรแกรมเวทในกล้ามเนื้อแต่ละมัดก็ควรจะมีทั้งท่า Compound และ Isolation ผสมๆ กันไป โดยอาจจะเน้นหนักไปที่ Compound ให้มีจำนวนท่ามากกว่า และควรมีการปรับเปลี่ยนท่าฝึก เช่น 1-2 เดือนเปลี่ยน เพื่อให้เกิดความหลากหลาย และเอาชนะจุดตันได้ ซึ่งจะทำให้ส่งผลดีต่อการสร้างกล้ามเนื้อในระยะยาวค่ะ

Gym Shoes

เมื่อพูดถึงการออกกำลังกายในยิมคุณต้องแน่ใจว่าคุณมีรองเท้าที่เหมาะสมสำหรับแต่ละกิจกรรม⁣

Elevated Shoes
รองเท้ายกน้ำหนักมีส้นที่ยกขึ้น นี่เป็นข้อได้เปรียบอย่างมาก เนื่องจากช่วยให้คุณย่อลงในตำแหน่งที่ลึกขึ้นโดยเพิ่มระยะการเคลื่อนไหวของข้อเท้า วิธีนี้จะช่วยให้คุณปรับปรุงตำแหน่งโดยรวมของคุณได้เช่นกัน เนื่องจากคุณจะพบว่าตัวเองนั่งตัวตรงมากขึ้น ลำตัวที่ตั้งตรงมากขึ้น หมายถึงโอกาสในการถือบาร์เบล และทิศทางถูกต้องมากขึ้น ส้นเท้านี้ยังช่วยให้คุณสามารถกระตุ้นกล้ามเนื้อของคุณได้มากขึ้นเพื่อส่งบาร์นั้นขึ้นไป

Flat Shoes
รองเท้าส้นแบนมีพื้นรองเท้าที่ยึดเกาะได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์เมื่อมีการยกของ เพื่อให้แน่ใจว่านักกีฬายกจะไม่ลื่นไถลหรือขยับเมื่อยก นอกจากนี้เช่นเดียวกับเวลานั่งยองๆ เนื่องจากโครงสร้างที่อ่อนตัวได้มากขึ้นจะช่วยให้ผู้ยกรู้สึกสัมผัสกับพื้นได้มากขึ้นเมื่อมีการยกของ

Cushion Shoes
รองเท้าที่นุ่ม และกันกระแทกมักไม่ใช่รองเท้าเทรนนิ่งที่สมบูรณ์แบบสำหรับขาหรือลิฟท์ เนื่องจากคุณต้องการฐานที่มั่นคง เพื่อให้ได้ความแข็งแรงสูงสุด ซึ่งมีลักษณะเบา นุ่มสบาย ระบายอากาศได้ดี ไม่อับชื้น รองรับแรงกระแทกได้ดี เหมาะกับการใส่วิ่ง

Cardio Pyramid

HIIT หรือ High Intensity Interval Training เป็นการออกกำลังกายที่มีความหนักหรือความเข้มข้นสูงในระยะเวลาสั้นๆ โดยมีช่วงออกกำลังการแต่ละครั้งเพียงแค่ 10-30 วินาที เพื่อให้การเต้นของหัวใจขึ้นไปอยู่ที่ระดับ 90% ของการเต้นของหัวใจสูงสุด (MHR) สลับกับการพักช่วงสั้นๆ 20-40 วินาที จากนั้นทำซ้ำสลับกันไปเรื่อยๆ เป็นระยะเวลา 10-15 นาที เช่น การวิ่งบนลู่วิ่ง ด้วยการสปริ้นท์(วิ่งเร็ว) 20 วินาทีสลับกับการพัก 40 วินาที เป็นระยะเวลา 10 นาทีหรือ การปั่นจักรยานด้วยความเร็ว และความต้านอย่างหนัก 20 วินาที สลับด้วยการปั่นอย่างช้า และไร้การต้านอีก 40 วินาที

MISS หรือ Moderate Intensity Steady State Cardio เป็นการออกกำลังกายรูปแบบคาร์ดิโอ โดยรักษาอัตราการเต้นของหัวใจให้อยู่ที่ระดับ 140-160 BPM (Beat Per Minute : อัตราเต้นของหัวใจ/นาที) หรือ 60-70% ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด ซึ่งแต่ละคนจะมีค่าที่ต่างกัน เช่น การวิ่งต่อเนื่องด้วยความเร็วที่สม่ำเสมอ, การปั่นจักรยานแบบเร็ว, การใช้เครื่อง Elliptical, Stair Master เป็นต้น

LISS หรือ Low Intensity Steady State Cardio เป็นการคาร์ดิโอที่หัวใจเต้นในระดับมากกว่าปกติเล็กน้อยที่ 100-130 BPM การออกกำลังกายแบบ LISS คือการออกกำลังการแบบ MISS โดยใช้ความเข้นข้นที่น้อยลง ความต้านน้อยลงหรือใช้ความเร็วที่ช้าลง

การเผาผลาญแคลอรี่โดยเฉลี่ยของแต่ละรูปแบบจะขึ้นอยู่กับ น้ำหนักตัว และความเข้มข้นของรูปแบบการออกกำลังกาย

ในทุกๆ 10 นาที ร่างกายจะเผาผลาญ
LISS ~ 0.4 กิโลแคลอรี่/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
MISS ~ 0.9 กิโลแคลอรี่/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
HIIT ~ 1.4 กิโลแคลอรี่/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม

Progressive Overload หลักการที่คนเล่นเวทควรรู้

หลักการของ Progressive Overload ก็คือการเพิ่มโหลด (Load) หรืออาจเรียกได้ว่าเพิ่มน้ำหนัก เพิ่มความท้าทายให้กับร่างกาย เมื่อคุณเพิ่มโหลดมากขึ้นร่างกายก็เกิดการปรับตัวด้วยการพยายามแข็งแรงขึ้น กล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นนั้นเอง

เมื่อคุณออกกำลังกายแบบเดิมๆ ช่วงแรกหุ่นเปลี่ยน แข็งแรงขึ้น แต่ถ้าคุณยังเวทแต่เดิมๆ น้ำหนักซ้ำๆ ร่างกายคุณจะปรับตัว และทำให้ร่างกายของคุณไม่พัฒนาค่ะ

หลักการการเพิ่ม Progressive Overload ที่ว่านี้อาจไม่จำเป็นต้องเป็นการเพิมน้ำหนักแต่เพียงอย่างเดียว ยังมี
หลายทางที่คุณสามารถเพิ่มโหลดให้กับกล้ามเนื้อ เพื่อกระตุ้นมัน ยกตัวอย่างเช่น
– เพิ่มน้ำหนัก อาทิตย์ก่อนยกได้ 20 กก. อาทิตย์นี้ได้ 25 กก.
– เพิ่มจำนวนครั้ง อาทิตย์ก่อนยกได้ 10 ครั้ง อาทิตย์นี้ยกได้ 12 ครั้ง น้ำหนักเดิม
– เพิ่มจำนวนเซต อาทิตย์ก่อนยก 3 เซต อาทิตย์นี้ยกเพิ่มเป็น 4 เซต
– ลดเวลาพัก อาทิตย์ก่อนพัก 2 นาที อาทิตย์นี้พักแค่นาทีเดียว
– ยกน้ำหนักได้เท่าเดิบ แต่เพิ่มเวลาที่น้ำหนักกระทำต่อกล้ามเนื้อ (Time under tension) เช่น อาทิตย์ก่อนยกขึ้น และลง จังหวะเดียว อาทิตย์นี้ยกขึ้น (Concentric) จังหวะเดิม แต่จังหวะยกลง (Eccentric) เพิ่มเวลาเป็น 3-4 วินาที และอื่นๆ อีกมากมาย

สุดท้ายกล้ามเนื้อจะแข็งแรงขึ้น ใหญ่ขึ้นก็ต่อเมื่อเกิดการท้าทายด้วยการเพิ่มโหลดให้กับกล้ามเนื้อ และเพิ่มความท้าทายอย่างต่อเนื่อง ควบคู่กับอาหารที่ดี ยังไงหุ่นคุณพัฒนาไปได้ไกล และดีขึ้นเรื่อยๆ แน่นอนค่ะ

สาเหตุที่กล้ามไม่ขึ้น

ใครที่กลัวกล้ามใหญ่บอกเลยว่ากล้ามเนื้อไม่ได้สร้างง่ายขนาดนั้น สาเหตุที่ทำให้กล้ามไม่ขึ้นมีหลายปัจจัยมาก Body Project จะสรุปมาให้เพื่อนๆ เข้าใจง่ายๆ

1. กินโปรตีนไม่เพียงพอ

แน่นอนว่าโปรตีนเป็นสารอาหารหลักที่จำเป็นต่อร่างกาย เพื่อเสริมสร้าง และซ่อมแซมกล้ามเนื้อ ต่อให้คุณยกเวทนักแค่ไหนแต่ถ้าคุณกินโปรตีนไม่เพียง กล้ามก็ไม่ขึ้นค่ะ

2. เวทไม่หนักพอ

หลายคนออกกำลังกายแต่ตัวเหลว ไม่กระชับ การยกเวทไม่ใช่แค่ไปยกดัมเบลหรือกับอุปกรณ์อะไรก็ตาม ยกในจำนวนครั้งที่น้อย น้ำหนักที่น้อย ความเข้มข้นน้อยก็ไม่ก่อให้เกิดกล้ามที่โตขึ้น เพราะถ้าคุณเวทแล้วรู้สึกสบาย ไม่หนักเลยก็ไม่แปลกที่หุ่นเราจะไม่เปลี่ยนเลยค่ะ

3. กินแคลอรี่น้อยเกินไป

ให้ลองนึกว่าคุณจะสร้างบ้าน (กล้ามเนื้อ) บ้านจะต้องมีวัสดุ อิฐ ปูน ไม้ เหล็ก แต่มีไม่เพียงพอ แม้คุณจะวางแผนโปรแกรมมาอย่างดี แต่ก็สร้างบ้านไม่ได้ เพราะคุณกินน้อยเกินไป ร่างกายขาดสารอาหาร และมีโอกาสจะสูญเสียกล้ามเนื้อด้วยค่ะ

4. เครียดมากเกินไป

ไม่ว่าคุณจะเครียดทางกายหรือทางใจ ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมน Cortisal ซึ่งฮอร์โมนเครียดมีผลกับการสะสมไขมันที่พุงมากขึ้น และพบว่ากระตุ้นการสลายโปรตีนกล้ามเนื้อ เมื่อร่างกายอดอาหารกินน้อย คาร์ดิโอหักโหมจะทำให้ระดับฮอร์โมนเพิ่มขึ้นค่ะ

5. คาร์ดิโอมากเกินไป

ลดไขมัน สร้างกล้ามเนื้อ คุณต้องโฟกัสที่การสร้างกล้ามก็คือ เพิ่มการยกเวท ไม่ใช่ทำคาร์ดิโอเยอะๆ ทำคาร์ดิโอนานๆ ลดเวลาคาร์ดิโอแล้วไปเพิ่ม Strength Training ค่ะ

6. นอนไม่เพียงพอ

ข้อนี้สำคัญมาก ในขณะที่คุณนอนหลับพักผ่อน ร่างกายซ่อมแซมกล้ามเนื้อ และเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย มีผลงานวิจัยชี้ว่าคนที่นอนพักผ่อนไม่เพียงพอจะทำให้สูญเสียมวลกล้ามเนื้อค่ะ

วิธีการหลีกเลี่ยงการสูญเสียกล้ามเนื้อ

ระยะเวลาเฉลี่ยก่อนการสูญเสียกล้ามเนื้อคือ 2-3 สัปดาห์ และสามารถรักษาความแข็งแรงได้นานถึง 4 สัปดาห์ก่อนที่จะเริ่มลดลง แต่สำหรับใครที่เพิ่งเริ่มต้นหรือฝึกซ้อมได้เพียงเล็กน้อย คุณจะไม่รู้สึกเปลี่ยนแปลงเท่าไหร่

หยุดซ้อมไปแล้วจะเป็นยังไง?
จุดที่การสูญเสียกล้ามเนื้อเกิดขึ้นคือ ขาดการฝึกซ้อม ไม่ได้เวทเป็นเวลา 3-8 สัปดาห์ และกินโปรตีนน้อย ทำให้เกิดการสูญเสียกล้ามเนื้อ และถ้าคุณไม่ได้คุมแคลอรี่อาหารให้ดี กินอาหารไม่ดีก็จะสะสมไขมันมากขึ้นด้วย

2 วิธีที่ดีที่สุดที่จะช่วยป้องกันการสูญเสียกล้ามเนื้อคือ การรักษาปริมาณโปรตีนให้เพียงพอ และคุมแคลอรี่อาหารให้น้อยกว่าที่ใช้ เลือกกินแต่ของที่มีประโยชน์ และออกกำลังกายที่บ้าน ฝึกซ้อมให้ได้หนักที่สุดเท่าที่จะทำได้ Body Project แนะนำว่าซื้ออุปกรณ์ชุดดัมเบล ชุดยางยึด ติดไว้ที่บ้านจะช่วยเพิ่มแรงต้านในการฝึกค่ะ

REPS ต่ำ VS REPS สูง

⁣คุณควรฝึกทั้งคู่อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างผลลัพธ์โดยรวมของกล้ามเนื้อให้ดีที่สุด

ในการเริ่มต้นการฝึกจำนวนครั้งน้อย น้ำหนักที่หนักมาก เพื่อสร้างความแข็งแกร่ง การฝึกแบบนี้เมื่อมองภาพให้ง่ายขึ้นก็คือ การที่คุณกำลังเคลื่อนย้ายของหนัก ซึ่งการย้ายของหนักๆ ทำจำนวนครั้งลดลง นี่คือวิธีที่คุณแข็งแกร่งขึ้น ในการทำเช่นนั้นคุณกระตุ้นเส้นใยกล้ามเนื้อประเภท 2 (กระตุกเร็ว) ซึ่งใช้เพื่อสร้างพลังงานสั้นๆ เส้นใยกล้ามเนื้อเหล่านี้ยิงเร็วกว่าเส้นใยกล้ามเนื้อประเภท 1 (กระตุกช้า)

ในทางกลับกันการฝึกจำนวนครั้งมาก (15+) น้ำหนักเบาเหมาะสำหรับการฝึกความอดทน การฝึกความอดทนคือ การอดทนต่อการทำซ้ำอย่างต่อเนื่อง การฝึกความอดทนจะกระตุ้นเส้นใยกล้ามเนื้อประเภท 1 (กระตุกช้า) ซึ่งมีประสิทธิภาพมากกว่าในการใช้ออกซิเจน เพื่อสร้างเชื้อเพลิงอย่างต่อเนื่อง (ATP) การฝึกที่มีจำนวนครั้งมากยังช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด และการสะสมของกรดแลคติก ซึ่งมีผลอย่างมากต่อการเติบโตของกล้ามเนื้อ สิ่งนี้ทำได้ดีที่สุดกับการออกแบบแยกส่วน ซึ่งทำให้คุณโฟกัสกล้ามเนื้อกลุ่มนั้นได้ดี

ผสมผสานทั้งสองอย่างอย่างที่คุณเห็นทั้งการฝึกจำนวนครั้งมาก และน้อย มีบทบาทสำคัญในการสร้างกล้ามเนื้อ Body Project แนะนำ 75% ของการฝึกของคุณมาจาก Low reps ที่ต่ำกว่า (<15) และ 25% มาจาก High reps มากกว่า (15+) เพราะคุณจะได้ความแข็งแรง และรูปร่างที่ดีค่ะ