Body Project Official

แหล่งโปรตีน

โปรตีน สำคัญอย่างไร?
โปรตีน คือ สารอาหารที่ประกอบด้วยกรดอะมิโนจำเป็นสำหรับร่างกาย มีหน้าที่สร้างความแข็งแรง และช่วยในการทำงานของกระดูก กล้ามเนื้อ และผิวหนัง แม้ร่างกายของคนเราจะสามารถสร้างกรดอะมิโนได้เอง 9 ชนิด แต่ก็ยังจำเป็นต้องได้รับกรดอะมิโนอีก 11 ชนิดเพิ่มเติมจากอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ถั่วชนิดต่างๆ รวมถึงข้าว และธัญพืช ซึ่งประกอบด้วยกรดอะมิโนจำเป็นอย่างครบถ้วน และเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
 
หลายคนอาจสงสัยว่าโปรตีนจากสัตว์ และโปรตีนจากพืชสามารถทดแทนกันได้หรือไม่ โปรตีนจากทั้ง 2 แหล่งนี้มีความแตกต่างกัน โปรตีนจากสัตว์ เช่น นม ไข่ และเนื้อสัตว์ นั้นเป็นโปรตีนสมบูรณ์ ประกอบด้วยกรดอะมิโนที่ร่างกายต้องการอย่างครบถ้วน
 
ในขณะที่โปรตีนจากพืชส่วนใหญ่เป็นโปรตีนไม่สมบูรณ์ ผู้ที่เลี่ยงการรับประทานโปรตีนจากสัตว์ จึงควรรับประทานถั่ว ธัญพืช ผัก และผลไม้ให้หลากหลายในแต่ละวัน เพื่อจะได้รับกรดอะมิโนที่ร่างกายต้องการครบถ้วน หรือเลือกรับประทานโปรตีนจากถั่วเหลือง ซึ่งเป็นพืชที่มีกรดอะมิโนจำเป็นครบถ้วนเป็นหลัก โปรตีนเป็นสารอาหารหลักที่ร่างกายต้องการในปริมาณมากในแต่ละวันเช่นเดียวกับไขมัน และคาร์โบไฮเดรต ส่วนวิตามิน และแร่ธาตุนั้นเป็นสารอาหารรองที่ต้องการเพียงปริมาณเล็กน้อยต่อวัน
 
นอกจากนี้ โปรตีนยังแตกต่างจากสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต และไขมัน ตรงที่ร่างกายของคนเราจะไม่สามารถเก็บสะสมโปรตีนไว้ใช้ในภายหลังได้อย่างคาร์โบไฮเดรต และไขมัน การได้รับสารอาหารโปรตีนอย่างครบถ้วนในแต่ละวันถือเป็นสิ่งสำคัญทีเดียว

แหล่งคาร์โบไฮเดรต

คาร์โบไฮเดรต กินอย่างไรให้ได้ประโยชน์ครบถ้วน กินได้ไม่อ้วน
คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate) คือสารอาหารหลักชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานสำคัญของร่างกาย อาหารส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยคาร์โบไฮเดรต และสารอาหารหลักชนิดอื่นๆ อย่างไขมัน และโปรตีนในปริมาณที่แตกต่างกัน โดยคาร์โบไฮเดรตที่พบในอาหารแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ น้ำตาล แป้ง และเส้นใยอาหาร
โดยทั่วไปแล้ว ร่างกายจะย่อยคาร์โบไฮเดรตให้กลายเป็นกลูโคสเพื่อดูดซึมสู่กระแสเลือด และนำไปใช้เป็นพลังงานสำหรับเซลล์ เนื้อเยื่อ รวมทั้งอวัยวะต่างๆ ส่วนน้ำตาลที่เหลือจากการใช้ทำกิจกรรมต่างๆ จะถูกสะสมไว้ที่ตับ และกล้ามเนื้อ เพื่อนำออกมาใช้ในยามจำเป็น
 
คาร์โบไฮเดรตมีกี่ประเภท?
คาร์โบไฮเดรตแบ่งออกเป็น 2 ชนิดหลักคือ
คาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว (Simple Carbs) หรืออาจเรียกว่าน้ำตาลเชิงเดี่ยว มักพบในน้ำตาลที่ผ่านการขัดสี เช่น น้ำตาลทรายขาว อย่างไรก็ดี คาร์โบไฮเดรตชนิดนี้พบได้ในอาหารอื่นๆ ที่ให้คุณค่าทางโภชนาการเช่นกัน ได้แก่ ผลไม้ หรือน้ำนม ซึ่งเป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยวที่ควรเลือกรับประทาน เพราะมักไม่มีน้ำตาลปรุงแต่ง และอุดมด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ควรเลี่ยงอาหารที่ปรุงแต่งด้วยน้ำตาล เช่น โซดา คุกกี้ ซีเรียล พาย น้ำผลไม้ ลูกอม เป็นต้น
คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน (Complex Carbs) คืออาหารจำพวกแป้ง และเส้นใยอาหาร เช่น ผลิตภัณฑ์จากธัญพืชอย่างขนมปัง แครกเกอร์ เส้นพาสต้า ข้าว รวมถึงผักใบเขียว ถั่วต่างๆ หรือแอปเปิล ทั้งนี้ ควรเลี่ยงการรับประทานคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนชนิดผ่านการขัดสี เช่น ขนมปังขาว ซึ่งเป็นกระบวนการที่ทำให้สูญเสียคุณค่าทางสารอาหาร ควรเลือกรับประทานธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสี อันอุดมไปด้วยวิตามิน และแร่ธาตุต่างๆ รวมทั้งมีเส้นใยอาหารสูงช่วยกระตุ้นระบบย่อยอาหารให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก เพราะส่งผลให้รู้สึกอิ่มนาน รวมทั้งช่วยควบคุมระดับน้ำตาลหลังรับประทานอาหารของผู้ป่วยเบาหวานได้ด้วย
 
ค่าดัชนีน้ำตาลในคาร์โบไฮเดรตคืออะไร และสำคัญอย่างไร
ค่าดัชนีน้ำตาล (Glycemic Index: GI) คือค่าบ่งชี้ระดับน้ำตาลในเลือดหลังรับประทานอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต ซึ่งมีความสำคัญต่อผู้ป่วยเบาหวาน เนื่องจากการรับประทานอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูงจะส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นมาก ผู้ป่วยเบาหวานจึงควรเลือกบริโภคอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลระดับต่ำถึงปานกลาง หรือรับประทานอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูงควบคู่กับอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ เพื่อให้เกิดความสมดุล โดยแบ่งประเภทอาหารตามระดับค่าดัชนีน้ำตาลได้ ดังนี้
อาหารดัชนีน้ำตาลต่ำ มีค่าดัชนีน้ำตาลในระดับ 55 หรือน้อยกว่านั้น มักพบในผัก ผลไม้ ถั่วชนิดต่างๆ ธัญพืชที่ผ่านกระบวนการแปรรูปเพียงเล็กน้อย และผลิตภัณฑ์เนยนมไขมันต่ำ
อาหารดัชนีน้ำตาลปานกลาง มีค่าดัชนีน้ำตาลอยู่ในระดับ 56-69 ได้แก่ มันหวาน ข้าวโพด ข้าวขาว หรืออาหารเช้าซีเรียล
อาหารดัชนีน้ำตาลสูง มีค่าดัชนีน้ำตาลในระดับ 70 ขึ้นไป ได้แก่ ขนมปังขาว เค้กข้าว แครกเกอร์ โดนัท หรือครัวซองต์
 
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ควรพิจารณาในการเลือกอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตอีกอย่างหนึ่งก็คือคุณค่าทางสารอาหาร อาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูงบางอย่างอาจมีคุณค่าทางโภชนาการมากกว่าอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ เช่น ข้าวโอ๊ตมีค่าดัชนีน้ำตาล และสารอาหารสูงกว่าช็อกโกแลต ผู้ป่วยจึงควรเลือกบริโภคอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตที่มีค่าดัชนีน้ำตาลพอเหมาะ และมีสารอาหารครบถ้วน ในปริมาณที่เหมาะสมต่อความต้องการของร่างกาย
 
คาร์โบไฮเดรตสำคัญต่อร่างกายอย่างไร
คาร์โบไฮเดรต คือแหล่งพลังงานหลักของร่างกาย โดยคาร์โบไฮเดรต 1 กรัมให้พลังงาน 4 แคลอรี่ ในแต่ละมื้อควรรับประทานอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตในปริมาณที่เหมาะสม การงดคาร์โบไฮเดรตจะทำให้เสี่ยงต่อการขาดสารอาหาร และเกิดปัญหาสุขภาพต่างๆ ได้ เนื่องจากคาร์โบไฮเดรตมีความสำคัญต่อร่างกาย ดังนี้
 
ให้พลังงาน โดยทั่วไปแล้วร่างกายจะย่อยสลายคาร์โบไฮเดรตให้กลายเป็นกลูโคส หรือน้ำตาล และดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด โดยมีฮอร์โมนอินซูลินคอยลำเลียงกลูโคสไปยังเซลล์ของร่างกาย เพื่อเป็นพลังงานในการประกอบกิจกรรมต่างๆ แต่หากร่างกายไม่ได้นำกลูโคสไปใช้ก็จะเก็บกลูโคสเหล่านั้นไว้ที่ตับ และกล้ามเนื้อในรูปของไกลโคเจน ส่วนกลูโคสที่เหลือจะถูกเปลี่ยนเป็นไขมัน เพื่อใช้เป็นพลังงานสำรองในระยะยาว
เสริมสร้างสุขภาพ อาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนอย่างผักใบเขียว ถั่วต่างๆ หรือธัญพืชไม่ขัดสี ล้วนอุดมไปด้วยเส้นใยอาหาร ให้คุณค่าทางโภชนาการ และมีคุณประโยชน์ต่อร่างกาย โดยช่วยให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น ลดการเกิดท้องผูก อีกทั้งอาจช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล หลักฐานทางวิทยาศาสตร์หลายชิ้นชี้ให้เห็นว่าการรับประทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารสูงอย่างผัก ผลไม้ หรือธัญพืชไม่ขัดสี ช่วยลดโอกาสเสี่ยงของโรคหัวใจ และหลอดเลือด ทั้งยังป้องกันการเกิดภาวะอ้วน และเบาหวานชนิดที่ 2
ควบคุมน้ำหนัก อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตนั้นให้พลังงานน้อยกว่าไขมัน และหากเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนก็ยังอุดมไปด้วยเส้นใยอาหาร ช่วยให้รู้สึกอิ่ม และได้รับพลังงานน้อยกว่า ผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักจึงควรเลือกรับประทานอาหารจำพวกแป้งที่มีเส้นใยอาหารสูงแทนอาหารที่มีไขมันสูง เพื่อไม่ให้ร่างกายได้รับพลังงานมากเกินไป

How to สร้างกล้าม

ท่าเล่นเวทสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ Compound กับ Isolation หรือบางคนจะเรียกว่า Multi-Joint (เคลื่อนไหวหลายข้อต่อ) กับ Single-Joint (เคลื่อนไหวข้อต่อเดียว)

Compound Movement เป็นท่าที่ใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ในร่างกาย เพราะกล้ามเนื้อมัดใหญ่เหล่านี้จะต้องใช้พลังงานสูงมาก และเบิร์นแคลอรี่ได้เยอะ นอกจากท่าประเภทนี้จะช่วยให้ลดน้ำหนักเร็วแล้วยังเป็นท่าพื้นฐานที่ช่วยเพิ่มขนาดกล้ามเนื้อ และสร้างความแข็งแรงกล้ามเนื้ออีกด้วย

Isolation Movement เป็นท่าที่มีกล้ามเนื้อทำงานหลักๆ แค่มัดเดียว โดยใช้น้ำหนักที่ยกได้หลายๆ ครั้ง เพื่อให้กล้ามเนื้อถูกใช้งานจนเครียด ซึ่งสามารถทำให้กล้ามเนื้อมีขนาดเพิ่มขึ้นได้ ซึ่งท่าพวกนี้มักจะยกได้เบากว่าท่า Compound เพราะกล้ามเนื้อที่ร่วมทำงานประกอบการเคลื่อนไหวน้อยกว่า

ประเด็นในวันนี้มาจากงานทดลองนึงที่เขาทำการเปรียบเทียบว่า Compound กับ Isolation อันไหนจะเพิ่มขนาด และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อได้ดีกว่ากัน เมื่อให้ “น้ำหนักที่ยก” “จำนวนครั้งที่ยก” และ “จำนวนเซท” เท่ากัน พูดง่ายๆ คือหยิบ DB มาลูกนึงแล้วให้กลุ่มนึงเล่น DB Fly 12 ครั้ง 3 เซท แล้วอีกกลุ่มนึงก็เอา DB ลูกนั้นมาเล่น DB Bench Press 12 ครั้ง 3 เซท เหมือนกัน พบว่าสามารถพัฒนาขนาดของกล้ามเนื้อได้เหมือนๆ กัน แต่การเล่นแบบ Compound นั้นจะมีข้อดีตรงที่เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อได้มากกว่า

แต่อย่าพึ่งด่วนสรุปว่าถ้าเป้าหมายคือ การเพิ่มขนาดของกล้ามเนื้อก็จะเล่นแต่ Isolation ก็ได้ (เพราะการทดลองพบว่าเพิ่มขนาดได้ไม่ต่างกัน) เพราะอย่าลืมว่าการทดลองนี้กำหนดให้ “นน ที่ยก” “จำนวนครั้งที่ยก” และ “จำนวนเซท” เท่ากัน ซึ่งในความเป็นจริงแล้วท่าพวก Compound จะใส่น้ำหนักได้เยอะกว่า และตัวน้ำหนักที่มากกว่านี่เองที่ทำให้กล้ามเนื้อต้องทำงานหนักมากขึ้น และจะเป็นปัจจัยนึงที่จะทำให้พัฒนาได้เช่นกัน

การออกแบบโปรแกรมเวทในกล้ามเนื้อแต่ละมัดก็ควรจะมีทั้งท่า Compound และ Isolation ผสมๆ กันไป โดยอาจจะเน้นหนักไปที่ Compound ให้มีจำนวนท่ามากกว่า และควรมีการปรับเปลี่ยนท่าฝึก เช่น 1-2 เดือนเปลี่ยน เพื่อให้เกิดความหลากหลาย และเอาชนะจุดตันได้ ซึ่งจะทำให้ส่งผลดีต่อการสร้างกล้ามเนื้อในระยะยาวค่ะ

Gym Shoes

เมื่อพูดถึงการออกกำลังกายในยิมคุณต้องแน่ใจว่าคุณมีรองเท้าที่เหมาะสมสำหรับแต่ละกิจกรรม⁣

Elevated Shoes
รองเท้ายกน้ำหนักมีส้นที่ยกขึ้น นี่เป็นข้อได้เปรียบอย่างมาก เนื่องจากช่วยให้คุณย่อลงในตำแหน่งที่ลึกขึ้นโดยเพิ่มระยะการเคลื่อนไหวของข้อเท้า วิธีนี้จะช่วยให้คุณปรับปรุงตำแหน่งโดยรวมของคุณได้เช่นกัน เนื่องจากคุณจะพบว่าตัวเองนั่งตัวตรงมากขึ้น ลำตัวที่ตั้งตรงมากขึ้น หมายถึงโอกาสในการถือบาร์เบล และทิศทางถูกต้องมากขึ้น ส้นเท้านี้ยังช่วยให้คุณสามารถกระตุ้นกล้ามเนื้อของคุณได้มากขึ้นเพื่อส่งบาร์นั้นขึ้นไป

Flat Shoes
รองเท้าส้นแบนมีพื้นรองเท้าที่ยึดเกาะได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์เมื่อมีการยกของ เพื่อให้แน่ใจว่านักกีฬายกจะไม่ลื่นไถลหรือขยับเมื่อยก นอกจากนี้เช่นเดียวกับเวลานั่งยองๆ เนื่องจากโครงสร้างที่อ่อนตัวได้มากขึ้นจะช่วยให้ผู้ยกรู้สึกสัมผัสกับพื้นได้มากขึ้นเมื่อมีการยกของ

Cushion Shoes
รองเท้าที่นุ่ม และกันกระแทกมักไม่ใช่รองเท้าเทรนนิ่งที่สมบูรณ์แบบสำหรับขาหรือลิฟท์ เนื่องจากคุณต้องการฐานที่มั่นคง เพื่อให้ได้ความแข็งแรงสูงสุด ซึ่งมีลักษณะเบา นุ่มสบาย ระบายอากาศได้ดี ไม่อับชื้น รองรับแรงกระแทกได้ดี เหมาะกับการใส่วิ่ง

Cardio Pyramid

HIIT หรือ High Intensity Interval Training เป็นการออกกำลังกายที่มีความหนักหรือความเข้มข้นสูงในระยะเวลาสั้นๆ โดยมีช่วงออกกำลังการแต่ละครั้งเพียงแค่ 10-30 วินาที เพื่อให้การเต้นของหัวใจขึ้นไปอยู่ที่ระดับ 90% ของการเต้นของหัวใจสูงสุด (MHR) สลับกับการพักช่วงสั้นๆ 20-40 วินาที จากนั้นทำซ้ำสลับกันไปเรื่อยๆ เป็นระยะเวลา 10-15 นาที เช่น การวิ่งบนลู่วิ่ง ด้วยการสปริ้นท์(วิ่งเร็ว) 20 วินาทีสลับกับการพัก 40 วินาที เป็นระยะเวลา 10 นาทีหรือ การปั่นจักรยานด้วยความเร็ว และความต้านอย่างหนัก 20 วินาที สลับด้วยการปั่นอย่างช้า และไร้การต้านอีก 40 วินาที

MISS หรือ Moderate Intensity Steady State Cardio เป็นการออกกำลังกายรูปแบบคาร์ดิโอ โดยรักษาอัตราการเต้นของหัวใจให้อยู่ที่ระดับ 140-160 BPM (Beat Per Minute : อัตราเต้นของหัวใจ/นาที) หรือ 60-70% ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด ซึ่งแต่ละคนจะมีค่าที่ต่างกัน เช่น การวิ่งต่อเนื่องด้วยความเร็วที่สม่ำเสมอ, การปั่นจักรยานแบบเร็ว, การใช้เครื่อง Elliptical, Stair Master เป็นต้น

LISS หรือ Low Intensity Steady State Cardio เป็นการคาร์ดิโอที่หัวใจเต้นในระดับมากกว่าปกติเล็กน้อยที่ 100-130 BPM การออกกำลังกายแบบ LISS คือการออกกำลังการแบบ MISS โดยใช้ความเข้นข้นที่น้อยลง ความต้านน้อยลงหรือใช้ความเร็วที่ช้าลง

การเผาผลาญแคลอรี่โดยเฉลี่ยของแต่ละรูปแบบจะขึ้นอยู่กับ น้ำหนักตัว และความเข้มข้นของรูปแบบการออกกำลังกาย

ในทุกๆ 10 นาที ร่างกายจะเผาผลาญ
LISS ~ 0.4 กิโลแคลอรี่/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
MISS ~ 0.9 กิโลแคลอรี่/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
HIIT ~ 1.4 กิโลแคลอรี่/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม

Progressive Overload หลักการที่คนเล่นเวทควรรู้

หลักการของ Progressive Overload ก็คือการเพิ่มโหลด (Load) หรืออาจเรียกได้ว่าเพิ่มน้ำหนัก เพิ่มความท้าทายให้กับร่างกาย เมื่อคุณเพิ่มโหลดมากขึ้นร่างกายก็เกิดการปรับตัวด้วยการพยายามแข็งแรงขึ้น กล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นนั้นเอง

เมื่อคุณออกกำลังกายแบบเดิมๆ ช่วงแรกหุ่นเปลี่ยน แข็งแรงขึ้น แต่ถ้าคุณยังเวทแต่เดิมๆ น้ำหนักซ้ำๆ ร่างกายคุณจะปรับตัว และทำให้ร่างกายของคุณไม่พัฒนาค่ะ

หลักการการเพิ่ม Progressive Overload ที่ว่านี้อาจไม่จำเป็นต้องเป็นการเพิมน้ำหนักแต่เพียงอย่างเดียว ยังมี
หลายทางที่คุณสามารถเพิ่มโหลดให้กับกล้ามเนื้อ เพื่อกระตุ้นมัน ยกตัวอย่างเช่น
– เพิ่มน้ำหนัก อาทิตย์ก่อนยกได้ 20 กก. อาทิตย์นี้ได้ 25 กก.
– เพิ่มจำนวนครั้ง อาทิตย์ก่อนยกได้ 10 ครั้ง อาทิตย์นี้ยกได้ 12 ครั้ง น้ำหนักเดิม
– เพิ่มจำนวนเซต อาทิตย์ก่อนยก 3 เซต อาทิตย์นี้ยกเพิ่มเป็น 4 เซต
– ลดเวลาพัก อาทิตย์ก่อนพัก 2 นาที อาทิตย์นี้พักแค่นาทีเดียว
– ยกน้ำหนักได้เท่าเดิบ แต่เพิ่มเวลาที่น้ำหนักกระทำต่อกล้ามเนื้อ (Time under tension) เช่น อาทิตย์ก่อนยกขึ้น และลง จังหวะเดียว อาทิตย์นี้ยกขึ้น (Concentric) จังหวะเดิม แต่จังหวะยกลง (Eccentric) เพิ่มเวลาเป็น 3-4 วินาที และอื่นๆ อีกมากมาย

สุดท้ายกล้ามเนื้อจะแข็งแรงขึ้น ใหญ่ขึ้นก็ต่อเมื่อเกิดการท้าทายด้วยการเพิ่มโหลดให้กับกล้ามเนื้อ และเพิ่มความท้าทายอย่างต่อเนื่อง ควบคู่กับอาหารที่ดี ยังไงหุ่นคุณพัฒนาไปได้ไกล และดีขึ้นเรื่อยๆ แน่นอนค่ะ

สาเหตุที่กล้ามไม่ขึ้น

ใครที่กลัวกล้ามใหญ่บอกเลยว่ากล้ามเนื้อไม่ได้สร้างง่ายขนาดนั้น สาเหตุที่ทำให้กล้ามไม่ขึ้นมีหลายปัจจัยมาก Body Project จะสรุปมาให้เพื่อนๆ เข้าใจง่ายๆ

1. กินโปรตีนไม่เพียงพอ

แน่นอนว่าโปรตีนเป็นสารอาหารหลักที่จำเป็นต่อร่างกาย เพื่อเสริมสร้าง และซ่อมแซมกล้ามเนื้อ ต่อให้คุณยกเวทนักแค่ไหนแต่ถ้าคุณกินโปรตีนไม่เพียง กล้ามก็ไม่ขึ้นค่ะ

2. เวทไม่หนักพอ

หลายคนออกกำลังกายแต่ตัวเหลว ไม่กระชับ การยกเวทไม่ใช่แค่ไปยกดัมเบลหรือกับอุปกรณ์อะไรก็ตาม ยกในจำนวนครั้งที่น้อย น้ำหนักที่น้อย ความเข้มข้นน้อยก็ไม่ก่อให้เกิดกล้ามที่โตขึ้น เพราะถ้าคุณเวทแล้วรู้สึกสบาย ไม่หนักเลยก็ไม่แปลกที่หุ่นเราจะไม่เปลี่ยนเลยค่ะ

3. กินแคลอรี่น้อยเกินไป

ให้ลองนึกว่าคุณจะสร้างบ้าน (กล้ามเนื้อ) บ้านจะต้องมีวัสดุ อิฐ ปูน ไม้ เหล็ก แต่มีไม่เพียงพอ แม้คุณจะวางแผนโปรแกรมมาอย่างดี แต่ก็สร้างบ้านไม่ได้ เพราะคุณกินน้อยเกินไป ร่างกายขาดสารอาหาร และมีโอกาสจะสูญเสียกล้ามเนื้อด้วยค่ะ

4. เครียดมากเกินไป

ไม่ว่าคุณจะเครียดทางกายหรือทางใจ ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมน Cortisal ซึ่งฮอร์โมนเครียดมีผลกับการสะสมไขมันที่พุงมากขึ้น และพบว่ากระตุ้นการสลายโปรตีนกล้ามเนื้อ เมื่อร่างกายอดอาหารกินน้อย คาร์ดิโอหักโหมจะทำให้ระดับฮอร์โมนเพิ่มขึ้นค่ะ

5. คาร์ดิโอมากเกินไป

ลดไขมัน สร้างกล้ามเนื้อ คุณต้องโฟกัสที่การสร้างกล้ามก็คือ เพิ่มการยกเวท ไม่ใช่ทำคาร์ดิโอเยอะๆ ทำคาร์ดิโอนานๆ ลดเวลาคาร์ดิโอแล้วไปเพิ่ม Strength Training ค่ะ

6. นอนไม่เพียงพอ

ข้อนี้สำคัญมาก ในขณะที่คุณนอนหลับพักผ่อน ร่างกายซ่อมแซมกล้ามเนื้อ และเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย มีผลงานวิจัยชี้ว่าคนที่นอนพักผ่อนไม่เพียงพอจะทำให้สูญเสียมวลกล้ามเนื้อค่ะ

วิธีการหลีกเลี่ยงการสูญเสียกล้ามเนื้อ

ระยะเวลาเฉลี่ยก่อนการสูญเสียกล้ามเนื้อคือ 2-3 สัปดาห์ และสามารถรักษาความแข็งแรงได้นานถึง 4 สัปดาห์ก่อนที่จะเริ่มลดลง แต่สำหรับใครที่เพิ่งเริ่มต้นหรือฝึกซ้อมได้เพียงเล็กน้อย คุณจะไม่รู้สึกเปลี่ยนแปลงเท่าไหร่

หยุดซ้อมไปแล้วจะเป็นยังไง?
จุดที่การสูญเสียกล้ามเนื้อเกิดขึ้นคือ ขาดการฝึกซ้อม ไม่ได้เวทเป็นเวลา 3-8 สัปดาห์ และกินโปรตีนน้อย ทำให้เกิดการสูญเสียกล้ามเนื้อ และถ้าคุณไม่ได้คุมแคลอรี่อาหารให้ดี กินอาหารไม่ดีก็จะสะสมไขมันมากขึ้นด้วย

2 วิธีที่ดีที่สุดที่จะช่วยป้องกันการสูญเสียกล้ามเนื้อคือ การรักษาปริมาณโปรตีนให้เพียงพอ และคุมแคลอรี่อาหารให้น้อยกว่าที่ใช้ เลือกกินแต่ของที่มีประโยชน์ และออกกำลังกายที่บ้าน ฝึกซ้อมให้ได้หนักที่สุดเท่าที่จะทำได้ Body Project แนะนำว่าซื้ออุปกรณ์ชุดดัมเบล ชุดยางยึด ติดไว้ที่บ้านจะช่วยเพิ่มแรงต้านในการฝึกค่ะ