Body Project Official

ผอมแต่มีพุงแก้ยังไง

คนผอมลงพุงจะมีพฤติกรรมการกินคือ ชอบกินอาหารที่มีปริมาณน้ำตาลสูง ขยับร่างกายน้อย ไม่ออกกำลังกาย เป็นคนที่มีมวลกล้ามเนื้อน้อย แต่ไขมันในร่างกายสูง ซึ่งพยายามจะลดพุง แต่ลดผิดวิธีคือ อดอาหาร และคาร์ดิโอหักโหมเกินไป สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้มวลกล้ามเนื้อลดลง พุงยิ่งลดยากขึ้น!

วิธีแก้หุ่นผอมลงพุงคือ หันมาออกกำลังกายรูปแบบเวทเทรนนิ่ง ใส่ใจกับโปรแกรมออกกำลังกายที่แน่นอน ฟอร์ม ท่าทางที่ถูกต้อง เพื่อเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ เพราะจะช่วยให้ร่างกายเผาผลาญได้มากขึ้น เลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาล และไขมันทรานส์สูง เน้นอาหารที่มีโปรตีนเป็นหลัก เพื่อช่วยเพิ่มกล้ามเนื้อ และป้องกันกล้ามเนื้อสูญเสีย สุดท้ายควรคาร์ดิโอควบคู่ แต่ไม่ใช่ทำมากจนเกินไป การคาร์ดิโอทำเพื่อควบคุมแคลอรี่แต่ละวันให้อยู่ในช่วง Deficit ก็เพียงพอ การคาร์ดิโอมากเกินไปมีแต่โทษที่จะตามมา ทำให้คุณวนลูปเดิมกลับไปอยู่ในสภาวะ Skinny Fat ค่ะ

การลดไขมันต้องใช้ระยะเวลา ต้องอาศัยวินัย และความอดทนสูง เพราะฉะนั้นต้องใจเย็นๆ และทำจนเห็นผลลัพธ์นะคะ

โภชนาการของไก่

“เนื้อไก่” ส่วนไหน ให้พลังงานเท่าไร? เนื้อไก่แต่ละส่วนให้พลังงานกับร่างกายไม่เท่ากัน หากใครกำลังควบคุมน้ำหนักอยู่ เนื้อไก่ถือเป็นโปรตีนที่ดีต่อสุขภาพ แต่ต้องเลือกส่วนที่กินให้ถูกด้วยค่ะ

แนะนำวิธีปรุงไก่ให้ได้โปรตีนสูง ไขมันต่ำ
– เลือกเนื้อไก่ที่สด สะอาด ปลอดภัย และใหม่ ไม่เก่าเก็บนานเกินไป
– เลือกส่วนที่ไขมันน้อยอย่าง อกไก่ และอย่าลืมลอกหนังออกนะคะ
– ปรุงด้วยวิธีต้ม นึ่งหรือย่างให้สุก
หากอกไก่ปรุงสุกแล้วแข็ง สามารถลองหมักด้วยนมหรือใช้วิธีการปรุงแบบซูวี (ทำให้สุกช้าๆ ด้วยอุณหภูมิต่ำ)
– กินเนื้อไก่ร่วมกับผักในมื้ออาหารเดียวกัน เพื่อให้ได้คุณค่าทางสารอาหารครบถ้วนค่ะ

ภาวะขาดน้ำ

ภาวะขาดน้ำ
ภาวะขาดน้ำ (Dehydration) คือ ภาวะที่ร่างกายสูญเสียน้ำมากกว่าที่ได้รับ ทำให้กระหายน้ำ และปัสสาวะมีสีเข้ม มักมีสาเหตุมาจากการอาเจียน ท้องเสีย การออกกำลังกายหรือการใช้ยาบางชนิด สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกวัย แต่มักเกิดขึ้นได้มากกับทารก เด็กเล็ก และผู้สูงอายุ หากร่างกายสูญเสียน้ำมากเกินไปจะทำให้เซลล์ เนื้อเยื่อ และอวัยวะต่างๆ ในร่างกายไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมาซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต

อาการของภาวะขาดน้ำ
กระหายน้ำเป็นสัญญาณหรืออาการแรกๆ ที่ร่างกายแสดงออก เพื่อพยายามเพิ่มปริมาณน้ำในร่างกาย ทารก และเด็กเล็ก เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะขาดน้ำได้มากที่สุด เนื่องจากไม่สามารถบอกได้ว่าหิวน้ำเมื่อไหร่ อาจพบอาการปาก และลิ้นแห้ง ร้องไห้ไม่มีน้ำตา ผ้าอ้อมเปียกปัสสาวะน้อยลง ปัสสาวะมีสีเข้ม ตาโหล แก้มตอบ กระหม่อมบุ๋ม ง่วงซึม หงุดหงิดง่าย หายใจเร็ว มือ และเท้าเย็น เป็นต้น

ผู้ใหญ่จะมีอาการที่แตกต่างกันออกไปตามระดับความรุนแรงของภาวะขาดน้ำ และพบอาการอื่นๆ ได้ ดังต่อไปนี้
อาการที่มีความรุนแรงน้อยถึงปานกลาง เช่น
– ผิวแห้ง ตาแห้ง ปากแห้ง
– คิดฟุ้งซ่าน
– ง่วงซึม อ่อนเพลีย
– มึนหัว วิงเวียน ปวดศีรษะ
– มีกลิ่นปาก
– ท้องผูก

สาเหตุของภาวะขาดน้ำ
บางครั้งผู้ป่วยอาจเกิดภาวะขาดน้ำได้จากสาเหตุเพียงเล็กน้อย เช่น ดื่มน้ำน้อยเกินไป ที่อาจเป็นผลมาจากความเจ็บป่วยหรือยุ่งจากการทำกิจกรรมอื่นๆ เช่น การทำงานหรือการเล่นกีฬา รวมถึงสามารถเกิดจากสาเหตุต่างๆ ดังต่อไปนี้

– ร่างกายสูญเสียน้ำมากเกินไป ในผู้ป่วยที่มีอาการอาเจียน ท้องเสีย ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำ และแร่ธาตุเป็นจำนวนมาก รวมถึงการสูญเสียน้ำผ่านทางบาดแผลที่ผิวหนัง เช่น แผลไฟไหม้ แผลในปาก แผลติดเชื้อที่ผิวหนัง หรือโรคผิวหนังอย่างรุนแรง เป็นต้น
– ปัสสาวะมากผิดปกติ ในผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ที่ใช้ยาขับปัสสาวะ ยาความดันโลหิตหรือผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก
เหงื่อออกมากผิดปกติ จากการออกกำลังกายเป็นเวลานาน ผู้ที่ทำงานในสถานที่ที่มีอากาศร้อนชื้นหรือในผู้ที่มีไข้สูง
ดื่มน้ำน้อยเกินไป โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการโคม่า ผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ รวมถึงผู้ที่มีอาการป่วย เป็นหวัดหรือเจ็บคอ ทำให้รู้สึกเบื่ออาหาร และดื่มน้ำน้อยลง

การป้องกันภาวะขาดน้ำ
การป้องกันสามารถทำได้โดยดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการป่วย เช่น อาเจียน ท้องเสีย มีไข้ หลอดลมอักเสบ การติดเชื้อที่กระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น รวมถึงผู้ที่ออกกำลังกายอย่างหนัก ผู้ที่อยู่ในสถานที่ที่มีอากาศร้อนชื้น อากาศหนาวเย็นหรือผู้ที่อยู่ในพื้นที่สูง และสามารถปฏิบัติได้ตามแนวทางดังต่อไปนี้

– ดื่มน้ำมากๆ ทั้งก่อน และหลังหรือในช่วงการทำกิจกรรมกลางแจ้ง การเล่นกีฬา การออกกำลังกาย โดยดื่มบ่อยๆ ทุก 15-20 นาทีหรือดื่มเครื่องดื่มเกลือแร่ หากมีการออกกำลังกายต่อเนื่องนานกว่า 1 ชั่วโมง ควรหยุดพักจากการออกกำลังกาย หากพบว่ามีอาการวิงเวียนศีรษะหรือรู้สึกเหนื่อยมาก และเลือกใส่เสื้อผ้าให้เหมาะกับการทำกิจกรรม เช่น เสื้อผ้าสีอ่อน เสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี เป็นต้น
ควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8-12 แก้ว โดยเฉพาะในวันที่มีการรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น เนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน ไข่ อาหารทะเล พืชตระกูลถั่ว นมไขมันต่ำ เป็นต้น
– หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงเบียร์ และไวน์มากเกินไป เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะขาดน้ำ

การรักษาภาวะขาดน้ำ
การรักษาสามารถทำได้ด้วยการเพิ่มหรือชดเชยปริมาณของเหลวในร่างกาย โดยการดื่มน้ำที่มีส่วนผสมของเกลือแร่หรือดื่มควบคู่กับน้ำเปล่า แพทย์อาจให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดดำในกรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะขาดน้ำจากอาการอาเจียน และท้องเสียที่ไม่สามารถดื่มน้ำผสมเกลือแร่ได้ และควรหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำอัดลม น้ำหวานหรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน เพราะอาจทำให้อาการแย่ลง

ผลลัพธ์ของการออกกำลังกาย

คุณต้องเข้าใจความจริงของผลลัพธ์ของการออกกำลังกายว่าต้องใช้เวลา บางคนออกกำลังกายเพียงแค่ 2 สัปดาห์ก็ตั้งคำถามว่าทำไมหุ่นไม่เปลี่ยนหรือ 1 เดือน หุ่นเปลี่ยนน้อยมาก การจะมีหุ่นที่ดีคุณต้องทำเป็นไลฟ์สไตล์ ออกกำลังกาย และดูแลเรื่องอาหารในทุกๆ วัน ทำอย่างสม่ำเสมอ

ความต่อเนื่องเป็นหัวใจสำคัญมากๆ ต่อให้คุณมีความรู้ แต่ถ้าคุณไม่มีวินัย ความรู้ที่มีก็จะเป็นพิษ เพราะรู้แต่ไม่ทำ แต่ถ้าคุณมีวินัยแค่บางวัน แต่คุณทำไม่ต่อเนื่อง ไม่มีความสม่ำเสมอ ผลลัพธ์ก็ไม่เกิด ซึ่งหลายคนพลาดกันเยอะมากจริงๆ เพราะฉะนั้นความต่อเนื่องจะเป็นตัวชี้วัดผลลัพธ์ว่าหุ่นจะเปลี่ยนไม่เปลี่ยน

หลายคนชอบตั้งคำถามว่าอยากได้หุ่นแบบนี้ใช้เวลาออกกำลังกายกี่ปี? ถ้าคุณตั้งคำถามเรื่องเวลา คุณจะรู้สึกว่าต้องใช้เวลาก็เลยหันไปพึ่งทางลัดต่างๆ ต่อให้คุณพึ่งวิธีลัดสุดท้ายมันจะไม่ยั่งยืน เพราะ Mindset ไม่ได้ถูกพัฒนาไปพร้อมกับหุ่น คุณไม่ได้สร้างนิสัย และไลฟ์สไตล์ของการมีหุ่นที่ดีตั้งแต่แรก เลยทำให้คุณรักษาหุ่นไว้ได้ไม่นาน

เปลี่ยนคำถามใหม่เป็นการจะได้หุ่นแบบนี้ต้องทำยังไง? แล้วคุณจะเห็นกระบวนการ และโฟกัสที่วิธีการมากกว่าผลลัพธ์ค่ะ จะทำให้คุณออกกำลังกายได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากหุ่นเห็นการเปลี่ยนแปลงก็เป็นการสร้างนิสัยใหม่ และกลายเป็นไลฟ์สไตล์ของเราด้วยค่ะ

อาหารของคนออกกำลังกาย

ปัจจุบันคุณจะเห็นได้ว่า อาหาร เครื่องดื่ม ขนม และของว่างต่างๆ มีการพัฒนาไปค่อนข้างมาก ประกอบกับการเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ทำได้ง่ายกว่าสมัยก่อน ทำให้พฤติกรรมการบริโภคอาหารของคนในยุคปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปมาก ที่น่าเป็นห่วงคือ แนวโน้มการกินอาหารจะไปทาง “เกินความต้องการของร่างกาย” ซึ่งสัมพันธ์กับการเกิดภาวะน้ำหนักเกิน และอ้วน

คนส่วนใหญ่พอพูดถึงอาหารของคนออกกำลังกายก็จะนึกถึงอาหารคลีนจืดๆ ที่รสชาติไม่อร่อย ซึ่งในความเป็นจริงอาหารพวกนี้ก็คืออาหารของคนสมัยก่อนนั่นเอง ซึ่งคนสมัยโบราณกินอาหารกันแบบง่ายๆ อาหารจากแหล่งธรรมชาติที่ยังไม่ผ่านการปรุงแต่ง เนื้อไม่ติดมัน ถั่วเปลือกแข็ง เมล็ดพืชต่างๆ ผัก และผลไม้ ไม่กินอาหารที่แป้ง มีน้ำตาล และถั่วประเภทฝัก

การที่คุณจะดูแลหุ่นให้ดี ดูแลสุขภาพให้ดี ไม่ใช่เรื่องยากค่ะ เพียงแค่คุณปรับพฤติกรรมการกินแบบคนสมัยโบราณก็คือ การกินอาหารที่มีคุณภาพ ไม่ใช่อาหารที่ผ่านการปรุงแต่งหรืออาหารที่ผ่านการขัด หรือฟอกสี และไม่กินอาหารสำเร็จรูป

แค่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน กินอาหารให้ถูกสุขลักษณะมากขึ้น และการออกกำลังกายให้มากขึ้น ปรับให้อาหารคลีนให้มากที่สุดที่คุณจะทำได้ จากที่เคยสั่งข้าวผัดไส้กรอก ก็เปลี่ยนเป็นข้าวผัดไก่ เริ่มจากจุดเล็กๆ ก่อนค่ะ Body Project การันตีว่าสุดท้ายแล้วคุณจะรู้สึกเหมือนตัวเองในร่างใหม่ ระบบย่อยอาหารจะกลับมาทำงานได้อย่างสมบูรณ์อีกครั้งหนึ่ง คุณจะรู้สึกกระปรี้กระเปร่าอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ไม่ง่วงระหว่างวัน สมองแจ่มใสขึ้นอย่างแน่นอนค่ะ

6 วิธีเพิ่มฮอร์โมนเพศชาย ‘เทสโทสเตอโรน’ อย่างเป็นธรรมชาติ

นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ

1. นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ

การนอนหลับที่เพียงพอมีบทบาท และความสำคัญต่อสุขภาพของคนเรา เช่นเดียวกับการกินอาหาร และการออกกำลังกาย นอกจากมีความสำคัญกับสุขภาพแล้วยังมีผลกระทบหลักต่อระดับฮอร์โมนเพศชายเทสโทสเตอโรนอีกด้วย ชั่วโมงของการนอนหลับที่เหมาะสมอาจจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล แต่ทางการแพทย์แนะนำให้พักผ่อนในแต่ละวันให้ได้ 6-8 ชั่วโมง ถึงจะเรียกว่าเป็นการพักผ่อนอย่างเพียงพอตามที่ร่างกายต้องการ และส่งผลดีต่อฮอร์โมนเพศชาย มีงานศึกษาชิ้นหนึ่งที่ถูกเผยแพร่ในสหรัฐอเมริกาพบว่าการนอนหลับเพียง 5 ชั่วโมงต่อคืนบ่อยครั้ง มีความสัมพันธ์กับการลดระดับฮอร์โมนเพศชายถึง 15% และในทางกลับกันการนอนหลับ 7-10 ชั่วโมงต่อคืนเป็นประจำจะช่วยให้ฮอร์โมนเพศชาย Testosterone เพิ่มกลับมาในเปอร์เซ็นต์ที่เท่ากัน

เลิกสูบบุหรี่และลดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์

2. เลิกสูบบุหรี่และลดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์

การสูบบุหรี่ และการดื่มแอลกอฮอล์ มักจะเป็นส่วนหนึ่งของผู้ชายไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สองพฤติกรรมนี้ไม่เพียงแต่จะส่งผลต่อ ปอด หัวใจ หลอดเลือด และอวัยวะภายในที่สำคัญของร่างกายเท่านั้น การลดต่ำลงอย่างน่าตกใจของฮอร์โมนเพศในผู้ชายก็มีสาเหตุมาจากสิ่งนี้เช่นเดียวกัน ดังนั้นการลด ละ เลิก พฤติกรรมทำลายสุขภาพนี้ มีส่วนช่วยอย่างยิ่งที่ทำให้ฮอร์โมนเพศกลับคืนมาเป็นปกติ และยังช่วยชะลอการลดลงอย่างผิดปกติได้ด้วย ‘นิโคติน’ ในบุหรี่คือ สารพิษร้ายแรงที่มีผลต่อระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนที่ลดลง และยังไปทำให้เกิดการรวมตัวของกรดไขมันในเลือดเพิ่มขึ้น เป็นสาเหตุทำให้เกิดการอุดตันของเส้นเลือดเล็กๆ ที่ไปเลี้ยงอวัยวะเพศเสียไป ทำให้อวัยวะเพศแข็งตัวน้อยลงหรือไม่แข็งตัว นอกจากนี้สารพิษในบุหรี่อีกหลายชนิดยังส่งผลต่อความแข็งแรง และจำนวนของอสุจิที่ลดลงด้วย การดื่มแอลกอฮอล์ก็เช่นเดียวกัน หากดื่มในปริมาณที่มากเกินไปจะส่งผลต่อระดับฮอร์โมนเพศที่ร่างกายจะผลิตได้น้อยลง ทำให้เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ จำนวนอสุจิลดลง และไม่แข็งแรง รวมถึงเส้นผมหลุดร่วงได้อีกด้วยค่ะ

หลีกเลี่ยงแหล่งน้ำตาลภายนอก

3. หลีกเลี่ยงแหล่งน้ำตาลภายนอก

ซึ่งรวมถึงน้ำตาลที่ถูกเพิ่มในอาหารแปรรูป (เช่น น้ำตาลข้าวโพดที่เต็มไปด้วยน้ำตาลฟรุกโตสสูง) และสารเร่งความหวานสังเคราะห์ หากคุณต้องการ “ความหวาน” ให้ลองใช้หญ้าหวาน (Stevia) เป็นสมุนไพร ที่สามารถให้ความหวานได้มากกว่าน้ำตาลถึง 60 เท่า

ออกกำลังกายด้วยวิธี Weight Training

4. ออกกำลังกายแบบเวทเทรนนิ่ง

การออกกำลังกายเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดวิธีหนึ่งในการเพิ่มฮอร์โมนเพศในผู้ชาย มีการศึกษาในต่างประเทศพบว่าผู้ชายในวัยปกติที่ออกกำลังกายเป็นประจำมีระดับฮอร์โมนเพศชายสูงขึ้น ส่วนในผู้ชายที่สูงอายุ การออกกำลังกายจะช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนเพศชาย และความฟิตของร่างกายได้

นอกจากนี้มีงานวิจัยในผู้ชายที่มีน้ำหนักเกินเป็นโรคอ้วน (ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่มาจากระดับฮอร์โมนที่ลดลง) ชี้ให้เห็นว่าการออกกำลังกายที่สม่ำเสมอให้ประโยชน์ได้มากกว่าอาหารลดน้ำหนัก ส่วนวิธีการออกกำลังกายที่ดีที่สุดสำหรับการเพิ่มฮอร์โมนเพศก็คือ การฝึกด้วยแรงต้าน เช่น การยกน้ำหนัก (Weight Training)

เพิ่มไขมันดี

5. เพิ่มไขมันดี

ไขมันโอเมก้า-3 เป็นไขมันดี พบได้ในอาหารหลากหลายชนิด เช่น ไข่ สาหร่าย ปลา และหอยแมลงภู่ รวมไปถึงพืชน้ำมันบางชนิด เช่น เมล็ดแฟลกซ์ ปอ และน้ำมันผลวอลนัท ไขมันดีจะช่วยสร้างให้ร่างกายมีสุขภาพที่ดีขึ้นค่ะ

การลดความเครียด

6. การลดความเครียด

ในต่างประเทศมีการวิจัยถึงอันตรายของความเครียดที่สัมพันธ์กับการลดลงของฮอร์โมนเพศชาย ซึ่งสามารถสรุปได้ว่าเมื่อเกิดอาการเครียดระดับของฮอร์โมนคอร์ติซอลหรือฮอร์โมนเครียดจะสูงขึ้น และเมื่อการเพิ่มขึ้นของคอร์ติซอลที่มากผิดปกติจะไปลดฮอร์โมนเพศชายให้ต่ำลงได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้นเป็นสองเท่า อีกทั้งฮอร์โมนเครียด ยังมีผลต่อจิตใจ และแสดงอาการไปถึงสมรรถภาพทางเพศ และความต้องการในเรื่องเพศที่ลดลง ดังนั้นเพื่อสุขภาพที่ดี และระดับฮอร์โมนเพศชายที่เหมาะสมควรต้องพยายามหลีกเลี่ยงความเครียดซ้ำๆ เมื่อคุณไม่เครียด ฮอร์โมนเพศชายก็จะไม่ถูกกระตุ้นให้ลดต่ำลง ซึ่งถือเป็นการชะลอปัญหา และยืดฮอร์โมนเพศชายให้สมดุลยาวนานยิ่งขึ้นค่ะ

นอนน้อย (Lack of Sleep)

นอนน้อย (Lack of Sleep) คือ ภาวะที่ร่างกายนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ ซึ่งจะส่งผลเสียต่อร่างกาย สภาวะอารมณ์ และการดำเนินชีวิตประจำวันได้ อีกทั้งการนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอเป็นประจำยังทำให้เสี่ยงป่วย แถมมีปัญหาสุขภาพต่างๆ ตามมาอีกมากมาย

สมองทำงานไม่มีประสิทธิภาพ

สมองทำงานไม่มีประสิทธิภาพ

การอดนอนหรือการพักผ่อนไม่เพียงพอ สามารถส่งผลให้สมองของคุณทำงานผิดพลาด ไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่หรือทำงานได้ช้าลง ส่งผลกระทบต่อกระบวนการคิด ความจำ และการตัดสินใจได้ เพราะการนอนไม่เพียงพอจะทำให้ความสามารถในการใช้เหตุผล ทักษะการแก้ปัญหา การตัดสินใจ การประเมินสถานการณ์ และสมาธิในการทำสิ่งต่างๆ ลดลง ส่งผลให้ไม่สามารถเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพได้

น้ำหนักเพิ่ม อ้วนง่าย

น้ำหนักเพิ่ม อ้วนง่าย

โดยพบว่าผู้ที่นอนน้อยกว่า 7 ชั่วโมงต่อวัน มีแนวโน้มที่น้ำหนักตัวจะมากขึ้น และเสี่ยงเป็นโรคอ้วนได้สูงกว่าผู้ที่นอนหลับ 7 ชั่วโมง เนื่องจากผู้ที่นอนน้อยจะมีสารเคมีเลปติน (Leptin) ที่ช่วยให้รู้สึกอิ่มอยู่ในระดับต่ำ และมีฮอร์โมนเกรลิน (Ghrelin) ที่กระตุ้นให้หิวอยู่ในระดับมาก

ระบบร่างกายรวน

ระบบร่างกายรวน

ระบบย่อยอาหารทำงานผิดปกติ ทำให้เกิดอาการท้องอืด, ท้องเฟ้อ, อาหารย่อยไม่ดี และการถ่ายอุจจาระไม่เป็นปกติ บางครั้งท้องเสีย แต่บางครั้งก็อาจท้องผูกขึ้นมากระทัน เพราะกระเพาะอาหารเกิดการล้า จึงทำให้ย่อยอาหารได้ไม่ดีเท่าที่ควร

ภูมิต้านทานโรคต่ำลง

ภูมิต้านทานโรคต่ำลง

ในขณะนอนหลับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะผลิตเซลล์ Cytokines และ Antibody เพื่อต่อสู้กับเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และสิ่งแปลกปลอมต่างๆ ที่เข้าสู่ร่างกาย การอดนอนจึงทำให้เจ็บป่วยได้ง่าย ซึ่งระบบภูมิต้านทานของร่างกายทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด เมื่อได้นอนหลับอย่างเพียงพออย่างน้อยวันละ 7 ชั่วโมงขึ้นไป เพื่อช่วยถนอมร่างกายให้เเข็งเเรง

ความต้องการทางเพศลดลง

ความต้องการทางเพศลดลง

เพราะการนอนไม่หลับจะทำให้ฮอร์โมน “เทสโทสเทอโรน” ต่ำลง ซึ่งทำให้ความต้องการทางเพศลดต่ำลงไปด้วย จากการตรวจของแพทย์จะเห็นได้ว่าผู้ที่เสื่อมสรรถภาพทางเพศส่วนใหญ่ มักจะมีสาเหตุมาจากการพักผ่อนน้อยหรือนอนไม่หลับเลยทั้งคืน

ส่งผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด

ส่งผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด

โดยมีการวิจัยในกลุ่มคนที่ไม่ได้นอนเป็นเวลา 88 ชม. พบว่ามีความดันเลือดที่สูงมากผิดปกติ และในผู้หญิงที่อายุน้อยกว่า 60 ปี ยังมีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจถึง 2 เท่า การอดนอนจึงทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด เช่น หัวใจวาย หัวใจล้มเหลว หัวใจเต้นผิดจังหวะ ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมองตีบ โรคเบาหวาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มคนที่มีปัจจัยเสี่ยงอยู่แล้ว เช่น ผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง

แก้ปัญหาการนอนอย่างไรดี?

แนวทางการรักษาเรื่องอดนอนที่ได้ผลดีที่สุดคือ การนอนให้พอเพียง คุณภาพการนอนเป็นสิ่งที่สำคัญ การนอนหลับสนิทหลับลึก ไม่ตื่นตลอดคืน จะช่วยให้ร่างกายซ่อมแซมฟื้นฟู ได้อย่างเต็มที่ และมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และเหมาะสมก็เป็นตัวแปรสำคัญในการมีสุขภาพดีอีกด้วยค่ะ

ไขมัน ​& กล้ามเนื้อ

คุณสามารถลดไขมันได้ แต่ไขมันจะเปลี่ยนมาเป็นกล้ามเนื้อไม่ได้ค่ะ เวทเทรนนิ่งไม่ได้เปลี่ยนไขมันให้เป็นกล้ามเนื้อ การเวทเทรนนิ่งช่วยสร้างกล้ามเนื้อ แต่ที่คุณเห็นคนยกเวทแล้วกล้ามเนื้อดูชัดขึ้น หุ่นดูลีนขึ้นเพราะไขมันลดลง คุณถึงเห็นกล้ามเนื้อชัดขึ้นค่ะ %ไขมันยิ่งน้อยก็กล้ามเนื้อยิ่งคมชัด 

ไม่มีอะไรเปลี่ยนมาเป็นกล้ามเนื้อได้นะคะ